เป็นข้อสงสัย บริษัทที่รันไปได้ดีๆ ทำไมเขาถึงต้องอยากเข้าตลาด เขาอยากได้อะไรจากตลาดกันนะ
เข้าตลาดมาก็ต้องมีการจัดการมากมายตามมา มีการควบคุมตามที่ ตลท กำหนด
จากที่เป็นเจ้าของกันในครอบครัว ไม่กี่คน ก็ต้องแบ่งให้คนอื่นมาร่วมด้วย มาบ่นมาด่าเวลาทำผลงานไม่ได้ตามเป้า
ทำไมกันนะ
โอเค ข้อดีก็มีคือมีเงินทุนไปขยายกิจการ แต่ถ้ากู้ธนาคารก็ได้ กู้เอาจะไม่ดีกว่ารึ
ดอกเบี้ยการกู้อาจจะอยู่สัก 5-7% แต่กำไรที่เพิ่มมาก็ไม่ต้องไปแบ่งไปแชร์กับคนอื่นเพิ่ม จ่ายแค่ดอกกันไป
ถ้างั้นเจ้าของเขาคิดว่าการระดมทุนในตลาดหุ้น ต้นทุนขายหุ้นถูกกว่ากู้เงินสินะ ซึ่งก็จริง ถ้ากิจการไม่มีกำไร ขาดทุนถ้าไม่จ่ายปันผลก็ไม่ต้องเสียอะไร ต่างจากเงินกู้ที่มีดอกเบี้ยตามหลอกหลอน
สรุป
ถ้าเอาเงินจากการขายหุ้นไปขยายกิจการ
- ถ้ามีหนี้เยอะ กู้เพิ่มยากหรือดอกสูงมาก
-> สมเหตุสมผล
- ถ้าหนี้น้อย เลือกขายหุ้นแทนการกู้
-> ไม่ค่อยสมเหตุสมผล แสดงว่าการขยายนั้นเสี่ยง มีโอกาสไม่คุ้มดอกเบี้ยที่เสีย เลยเลือกทางที่ยุ่งยากแต่ไม่เสียดอก
ถ้าเอาเงินจากการชายหุ้นไปชำระเงินกู้
- ถ้าหนี้เยอะ สภาพคล่องเริ่มแย่
-> กลางๆ ฟังขึ้น แต่ต้องรอดูว่าจะดีขึ้นไหม
- ถ้าหนี้น้อย แล้วยังเอาไปจ่ายหนี้ให้น้อยลงอีก
-> ไม่ค่อยสมเหตุสมผล ปันผลที่จ่ายออกมาจากบริษัทต้องน้อยกว่าดอกเบี้ยที่เสียซะอีก ไม่งั้นยอมจ่ายดอกดีกว่าไหม