News:

SMF - Just Installed!

Main Menu

Recent posts

#21
มีเปลี่ยนแปลงละ เปลี่ยนตัว CEO

ถ้านับเป็นเจน
เจนแรก คุณ ชนินท์ เป็นคนก่อตั้ง บุกเบิก
เจนสอง คุณ สมฤดี สานต่อจากคุณชนินท์ เทรนกันมา

คนนี้ก็น่าจะเป็น เจนสาม คุณ สินนท์ ว่องกุศลกิจ


คร่าวๆ ก็เป็น CEO banpu next มาก่อน เข้าใจว่าวางตัวมาตั้งแต่ตอนนั้น ประสบการณ์อาจจะยังไม่เยอะ แต่ดูประวัติมาก็เป็นลูกชายคุณชนินท์ คงคุมอยู่อีกที
ด้วยอายุยังไม่เยอะ ก็คงจะอยู่กันไปนานๆเลยแหละ
#22
ธุรกิจหลักๆมี 3 ส่วน

1. ปลูกยาง มีที่ดินสี่หมื่นกว่าไร
2. ขายยางแปรรูปขั้นกลาง น้ำยางข้น ยางแท่ง ยางแผ่น
3. ขายถุงมือยาง ผ่านทาง STGT

เฉพาะข้อ 1 บริษัทปลูกยางในที่ดิน ก็จะมีโอกาสขายคาร์บอรเครดิตได้ด้วย เป็นรายได้ทางอ้อมอีกก้อนนึง
ข่าว คาร์บอนเครดิต
https://www.springnews.co.th/keep-the-world/climate-change/831735

สมมติถ้าได้ตันละ 120 บาท ตามข่าวบน ตีพื้นที่ปลูก 40000 ไร่ เอาแค่ไร่ละ 1 ตัน
ก็ปีละ 4.8 ล้าน ลงเป็นกำไรเลยเพราะไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่ม
ไหมนะ
แต่ถ้าเทียบรายได้หลักแสนล้าน กำไรปีก่อนๆหลายพันล้าน
มันก็จิ๊บๆแหละนะ
#23
เป็นข้อสงสัย บริษัทที่รันไปได้ดีๆ ทำไมเขาถึงต้องอยากเข้าตลาด เขาอยากได้อะไรจากตลาดกันนะ

เข้าตลาดมาก็ต้องมีการจัดการมากมายตามมา มีการควบคุมตามที่ ตลท กำหนด

จากที่เป็นเจ้าของกันในครอบครัว ไม่กี่คน ก็ต้องแบ่งให้คนอื่นมาร่วมด้วย มาบ่นมาด่าเวลาทำผลงานไม่ได้ตามเป้า

ทำไมกันนะ

โอเค ข้อดีก็มีคือมีเงินทุนไปขยายกิจการ แต่ถ้ากู้ธนาคารก็ได้ กู้เอาจะไม่ดีกว่ารึ

ดอกเบี้ยการกู้อาจจะอยู่สัก 5-7% แต่กำไรที่เพิ่มมาก็ไม่ต้องไปแบ่งไปแชร์กับคนอื่นเพิ่ม จ่ายแค่ดอกกันไป

ถ้างั้นเจ้าของเขาคิดว่าการระดมทุนในตลาดหุ้น ต้นทุนขายหุ้นถูกกว่ากู้เงินสินะ  ซึ่งก็จริง ถ้ากิจการไม่มีกำไร ขาดทุนถ้าไม่จ่ายปันผลก็ไม่ต้องเสียอะไร ต่างจากเงินกู้ที่มีดอกเบี้ยตามหลอกหลอน

สรุป
ถ้าเอาเงินจากการขายหุ้นไปขยายกิจการ
  - ถ้ามีหนี้เยอะ กู้เพิ่มยากหรือดอกสูงมาก
    -> สมเหตุสมผล
  - ถ้าหนี้น้อย เลือกขายหุ้นแทนการกู้
    -> ไม่ค่อยสมเหตุสมผล แสดงว่าการขยายนั้นเสี่ยง มีโอกาสไม่คุ้มดอกเบี้ยที่เสีย เลยเลือกทางที่ยุ่งยากแต่ไม่เสียดอก

ถ้าเอาเงินจากการชายหุ้นไปชำระเงินกู้
  - ถ้าหนี้เยอะ สภาพคล่องเริ่มแย่
    -> กลางๆ ฟังขึ้น แต่ต้องรอดูว่าจะดีขึ้นไหม
  - ถ้าหนี้น้อย แล้วยังเอาไปจ่ายหนี้ให้น้อยลงอีก
    -> ไม่ค่อยสมเหตุสมผล ปันผลที่จ่ายออกมาจากบริษัทต้องน้อยกว่าดอกเบี้ยที่เสียซะอีก ไม่งั้นยอมจ่ายดอกดีกว่าไหม
 
#24
 แปะคลิปแนะนำตอน IPO
#25
ห้องบันทึก / PTTGC vs CPAXT vs BANPU
Last post by lunggob - Jan 17, 2024, 03:32 AM
port ที่ invx

You cannot view this attachment.

ที่ลบอยู่ 2 ตัว
PTTGC กับ CPAXT  จริงๆธุรกิจเขาก็ยังดีอยู่นะ แต่สนใจ BANPU ที่ลงมา้ยอะมากกว่า มาลองดูหน่อยว่าจะดีไหม

PTTGC
> เมื่อไรจะฟื้น : จะฟื้นมาจากความต้องการสินค้าที่เพิ่มขึ้น หลังจากดรอปลงช่วงโควิด ซึ่งก็น่าจะค่อยๆเพิ่ม น่าจะมี 2-3 ปีแบบค่อยๆไป
> ฟื้นไปได้แค่ไหน : จากกราฟเขา พีคๆ ก็ราว 80 บาท ตีว่าไปถึง 70 ก็ upside 100% แม้จะมีธุรกิจใหม่มาแต่ก็ยังไม่ได้สร้างรายได้แบบมีนัยยะมาก
> ลงต่อได้ไหม มีโอกาส เท่าที่ยังไม่เห็นการฟื้นตัวของ demand ก็น่าจะทรงกับทรุด  แถมมีความเสี่ยงจากนฌยบายภาครัฐที่อาจทำให้ต้นทุนเพิ่ม
> ปันผลระหว่างรอ : แม้ขาดทุนแต่ก็มีปันผล แต่เรตน่าจะต่ำ อาจจะไม่ถึง 1%

CPAXT
> เมื่อไรจะฟื้น : จะฟื้นมาจากความต้องการสินค้าที่คงไม่เพิ่มไปอีกสักเท่าไร ขยายสาขาก็ชะลอลง แต่หลักๆน่าจะมาจากค่าใช้จ่ายทั้งค่าเสี่อม ดอกเบี้ยที่ลดลง มันก็น่าจะมี 2-3 ปีแบบค่อยๆไป
> ฟื้นไปได้แค่ไหน : ดูจากอดีตไม่ได้เพราะโครงสร้างธุรกิจเปลี่ยน จำนวนหุ้นเพิ่มขึ้น แต่ถ้าลองตีว่าผลงานดี กลับมาทำ EPS ได้สัก 2 บาท PE ค้าปลีก 30 เท่าก็ราคาสัก 60  Upside ราวๆ 100%
> ลงต่อได้ไหม : ไม่น่าลงอีก ค่าใช้จ่าย ลงทุนน่าจะหมดแล้ว หรือมีอีกก็ไม่เท่าไร น่าจะแค่รอเวลาฟื้นตัว
> ปันผลระหว่างรอ : ธุรกิจเจ้าสัว มีกำไรก็ปันไป แต่ไม่เยอะ ราวๆ 1.5-2%

BANPU
> เมื่อไรจะฟื้น :  ฟื้นตามราคาถ่านหิน กับธุรกิจใหม่ทำกำไรเพิ่มขึ้น ซึ่งตัวใหม่เนี่ยก็หลายตัวอยู่ ไฟ้า แก๊ส CCUS
> ฟื้นไปได้แค่ไหน : ดูจากอดีตไม่ได้เพราะโครงสร้างธุรกิจเปลี่ยน จำนวนหุ้นเพิ่มขึ้น  แต่ถ้าถ่านหินดีๆ น่าจะไป 15 บาทได้ Upside เกิน 100% เป็นไปได้
> ลงต่อได้ไหม : ถ้าราคาถ่านหินลง ก็มีโอกาสลงตามไปอีก แต่ถ่านหินก็ยังเป็นสินค้าจำเป็นต้องใช้ เหมือนน้ำมันที่อาจจะลงจนขาดทุนได้แต่ก็ลงไม่นาน
> ปันผลระหว่างรอ :  ดูทรงมีโอกาสปันผลมากกว่า 2 อันบน



บทสรุป
step 1 โยกจาก PTTGC ไป BANPU
ถ้า BANPU ยังลงไปต่ำกว่า 5 บาท
step 2 โยกจาก CPAXT ไปเติม BANPU
แล้วก็ลืมๆมันซะ ค่อยมาดูตอน 15 บาท 5555
#26
factsheet snapshot
Q2 & Q3

You cannot view this attachment.

++++++++++++++++++
You cannot view this attachment.
#27
## BCH ##
บางกอก เชน ฮอสปิทอล
วันก่อนฟัง podcast การลงทุนอันนึง มีคำถามให้คิดว่าถ้าสามารถเอาเงินที่เรามี เงินที่เราเก็บมา ไปซื้อของได้แค่อย่างเดียว คุณจะซื้ออะไร

คำตอบแรกที่ลุงคิดคือสุขภาพ แน่นอนว่านี่เป็นเรื่องสำคัญอันดับต้นๆของมนุษย์ทุกคน มีเงินเยอะๆ แต่สุขภาพแย่ ป่วยใกล้ตายก็ไม่รู้จะมีเงินเยอะไปทำไม

คำตอบรองลงมาสำหรับลุงคือเรื่องครอบครัว และความสุขทางสังคมอื่นๆ โดยรวมคือเป็นความสุขที่สามารถใช้เงินซื้อหรือหามาได้ อาจจะไม่ได้โดยตรง แต่ก็แน่นอนว่าช่วยได้แหละ

ลองนึกถึงครอบครัวที่ต้องทำงานตัวเป็นเกลียว ไม่ค่อยมีเวลาอยู่ด้วยกัน เทียบกับอีกครอบครัวที่พอมีฐานะ มีเวลาพร้อมหน้าครอบครัวมากกว่า แต่ทั้งนี้มันก็อยู่ที่ความฉลาดในการใช้เงินของเราด้วย

สุดท้ายแล้ว คำตอบสำหรับคำถามข้างบนของลุง ลุงจะซื้อโรงพยาบาลครับ ด้วยเหตุผลง่ายๆ

1. สุขภาพ เป็นปัจจัยหลักที่ทุกคนสนใจ

2. สร้างกระแสเงินสด เพราะเงินเป็นปัจจัยเสริมให้ชีวิตง่ายขึ้น

นี่เลยเป็นที่มาของหุ้นโรงพยาบาลที่ลุงสนใจ

เกริ่นมาซะยาว เข้ากันที่ตัวหุ้นเลย

BCH ทำโรงพยาบาล ตัวหลักที่คุ้นชื่อกันก็ในนามเครือเกษมราษฎร์ ซึ่งก็มีหลายสาขาอยู่ มีลูกค้าระดับล่างกลางถึงบน โรงพยาบาลเน้นต่างชาติก็มี

แนะนำพื้นฐานหุ้นที่ควรดู ก็ในคลิปนี้ ลุงชอบ concept ของรายการนี้ดีนะครับ แนะนำตัวหุ้นได้ละเอียดดี แต่น่าเสียดายว่าไม่ได้ทำต่อแล้ว  คลิปความรู้ดีๆ คนดูหลักพัน แต่พวกคลิปเล่นเกม ด่ากัน ไวรัล ไร้สาระ แค่ไม่ถึงชั่วโมงก็ไปหลักหมื่นหลักแสนกันแล้ว

https://www.youtube.com/watch?v=VIYAYvw1z_I

✍️ Good ? แนวโน้มธุรกิจดีไหม
โดยลักษณะของธุรกิจ โฟกัสดูเฉพาะปีหลังๆ 2558 มาก็มีการเติบโตอยู่เรื่อยๆ ปีละนิดละหน่อย  ยกเว้นปี 2564 มาที่ไม่ปกติเพราะได้ประโยชน์จากโควิด แล้วก็ค่อยลดลงสู่ระดับปกติ ดูจากเทรนแล้วถ้ามองไปถึง 2-3 ปี ในสภาวะปกติก็น่าจะได้สัก 2000 ลบ. ส่วนหนึ่งเพราะมีเงินได้เข้ามาจากช่วงโควิดปีที่ผ่านมาไปต่อยอดต่ออีก

ลุงมองว่าเป็นธุรกิจที่ถ้าบริหารไปแบบปกติ แทบจะปิดประตูเจ๊งได้เลย

มองถึงโอกาสในการเติบโต เขามีโรงพยาบาลสาขาอยู่หลายแห่ง และมีโอกาสอีกอีกเยอะที่จะขยายสาขา คิดง่ายๆ ถ้าเปิดจังหวัดละสาขา ก็เหลือให้โตได้อีกมาก  หรือเอาแค่เปิด tier 3 ในแต่ละภูมิภาค ก็น่าจะมีโอกาสอีกเยอะเลย อยู่ที่วิสัยทัศน์ผู้บริหารแล้วละ

ส่วนตัวลุง คิดว่าเขาจะขยายอีกนะ ดูจากธุรกิจ เขาได้กำไรมาแบ่งปันผลแค่ 40-60% มันก็จะมีเงินเหลือส่วนหนึ่งให้เขาไปขยายผลต่อ



✍️ Owner ? ชัดเจนมากว่ามีเจ้าของ คือครอบครัวหาญพาณิชย์ ถือหุ้นอยู่ 49.9 % เลย ควบคุมเสียง ทิศทางบริษัทได้เบ็ดเสร็จเด็ดขาด
แยกกันหน่อยว่าเจ้าของลุงหมายถึง ผถห รายใหญ่นะ ไม่ใช่เจ้ามือ ไม่ใช่จ้าว ที่ปั่น ทำราคาหุ้น  ต้องบอกว่าธุรกิจที่ดี เขาบริหารตัวธุรกิจ ไม่ได้บริหารราคาหุ้น



✍️ Professional  แน่นอนว่าโรงพยาบาล ใครจะบริหารดีสุด ถ้าไม่ใช่หมอ ครอบครัวนี้มีหมออยู่ทั้งพ่อ แม่ ลูกคนโต ลูกอีกคนก็เรียนการเงิน กับบริหาร  แต่ก็น่าสังเกตหน่อยๆว่ากรรมการก็จัดคนสกุลหาญพาณิชย์ไปแล้วเกือบครึ่ง แทบจะเป็นธุรกิจในครอบครัวเลย

การที่มันเหมือนเป็นธุรกิจครอบครัวเนี่ย มันก็มีทั้งข้อดีข้อเสีย  คือถ้าบริหารดี มันก็จะดีเลิศเลย แต่ถ้าแย่ก็จะไม่มีคนแนะนำคานอำนาจ  ในระหว่างที่คุณเฉลิม คนพ่อยังอยู่ ผลงานน่าจะคาดเดาได้เพราะเห็นฝีมือกันมานาน  แต่ที่ต้องตามดูหน่อยก็หลังจากคุณเฉลิมวางมือ จะมี Successor ยังไง

ข้อเสียของธุรกิจครอบครัวแบบนี้คือถ้าเขายึดติดกับคนในครอบครัวก็จะเป็นคนในครอบครัวมาบริหาร ซึ่งถ้ามีฝีมือก็ดีไป แต่ถ้าไม่มีฝีมือพอมันก็จะทำให้ผลงานออกมาไม่ค่อยดีได้



💰 Financial งบ Q10223@21May
1. ผู้ตรวจสอบรับรองงบ - ไม่มีเงื่อนไข
2. งบล่าสุด กำไร  253 ลบ. ลดลง ฐานปีก่อนสูง
3. มีกำไรสะสม  9747 ลดลง น่าจะเอาไปจ่ายหนี้
4. หนี้สินรวม  4995 ลดลง
    ต้นทุนทางการเงิน 27.63 ลบ.
5. เงินสด  2492 ลบ.
6. Book value 5.08 เติบโต
7. P/BV  3.40 เท่า
8. D/E  0.36 เท่า
9. กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน 1,264 ลบ.

✍️ Information ข่าวสารถือว่าดีเลย  Oppday เข้าร่วมตลอด มีออกข่าว ออกรายการให้หายคิดถึง จะหาข้อมูลติดตามข่าวสาร ถือว่าทำได้ไม่ยาก เอกสารบทวิเคราะห์ก็อ่านได้เพลินๆ



✍️ Return 2-3 ปีหลังผันผวนหน่อย โดยเฉลี่ยดูปีเก่าๆ ปันผลจ่ายอยู่ที่ 40-50 % ของงบรวม คิดเป็น yield เก่าๆ ก็ 1-2% ถือว่าไม่เยอะ พอๆกับดอกเบี้ย แต่ลุ้นเอากับการเติบโตน่าจะได้ดีกว่า เพราะปันผลจ่าย 50% นั้นคือเหลือเงินอีก 50% เอาไปลงทุนต่อยอด ส่วนของผู้ถือหุ้นโตขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งช่วงโควิด โตขึ้นเท่าตัวเลย ช่วงก่อนโควิดราคาก็วิ่งอยู่ 15-18 บาทอยู่แล้ว ตอนนี้เงินเยอะขึ้น ขยายได้เยอะขึ้น มันก็น่าจะวิ่งไปได้อีก



✍️ Enjoy ความชอบในตัวนี้

- เหมือนเราได้ทำ CSR เรื่อยๆ  รักษาคน ช่วยคนช่วยสังคม

- เขาไม่เน้นธุรกิจจนเกินไป มีหุ้น รพ. ก็หลายตัวนะ แต่ตัวที่รายได้ กำไรดีๆ คือธุรกิจจ๋ามาก แพงโดดแบบคนปกติไม่ต้องคิดจะเข้าไป ประกันสังคม อะไรที่กำไรน้อยหน่อยไม่รับ  ส่วนตัวว่าพวกนั้นไม่ได้ส่งเสริมสุขภาพสังคมโดยรวมเท่าไร

- ช่วงโควิดเขารายได้เยอะมาก ลุงมอง 2 อย่าง เขามีศักยภาพ สามารถปรับตัวได้เร็ว  และเขามีเจตนาดีที่จะทำ ถามว่ารพ.อื่นโตแบบนี้ไหม รายใหญ่กว่าเขาก็มี แต่สเกลรายได้ไม่ได้โตตาม สื่อถึงเขาไม่ได้สนใจตรงนี้ ซึ่งมันก็เป็นวิกฤติชีวิตเพื่อนมนุษย์

ส่วนตัวค่อนข้างถือได้แบบไม่กังวลเท่าไร  ลุงชอบธุรกิจโรงพยาบาลก็เหมือนทำบุญกับสุขภาพไปกลายๆ ลงก็เก็บเพิ่ม ขึ้นก็ทยอยเก็บตามแผน  ขึ้นเยอะก็ปล่อยทำกำไรได้ ดูวี่แววไม่น่าเจ๊ง แต่ด้วยเงื่อนไขผู้บริหารคนเดิมนะ ถ้าสมมติมีการเปลี่ยนมือก็ต้องดูฝีมือกันก่อน
================
วิเคราะห์ครอบครัว  (อายุ @2567)
คุณพ่อ หมอเฉลิม (70) + คุณแม่ หมอสมพร (72)
| - หมอส้ม พรลักษณ์ (39)
| - พี่พีท กันตพร (37)
| - น้องปลา พรลักษณ์ (35)
ความเชี่ยวชาญแตกต่างกัน ส่งเสริมกันดี ระหว่างที่มีหมอเฉลิมคุมอยู่ก็ไว้ใจได้
#29
TASCO ## บริษัท ทิปโก้แอสฟัลท์ จำกัด

หุ้นขายยางมะตอย เจ้าเดียวในประเทศไทยและเป็นเจ้าใหญ่ในตลาด โดยเป็นการร่วมทุนของ บ. CORAS จากฝรั่งเศส กับกลุ่มทิปโก้

ตลาดหลักๆคือทำถนน ทั้งถนนใหม่และซ่อมแซมถนนเก่า ซึ่งจะผูกกับงบประมาณรัฐซะเยอะ ปีไหนงบทำถนนเยอะ ยอดซื้อยางมะตอยก็เยอะ บ.ก็กำไรเยอะไปด้วย กับอีกส่วนคือต้นทุนซึ่งก็จะเกี่ยวพันไปกับราคาน้ำมัน เพราะยางมะตอยเป็นผลิตผลจากน้ำมันอีกที กับธุรกิจอีกส่วนเป็นก่อสร้างซึ่งก็เข้าใจว่างานหลักๆ คือทำถนน แต่สัดส่วนรายได้ยังน้อยอยู่

✍️ Good ?
ตัวธุรกิจ ย้อนหลังก็มีการเติบโตบ้าง แต่ไม่ค่อยเยอะ ดูแนวโน้มผลประกอบการอาจจะยากหน่อย โดยเฉพาะสองปีหลังนี้ เพราะมีปัจจัยเยอะ ทั้งราคาน้ำมัน งบภาครัฐ สถานการณ์โควิด แต่ที่แน่ๆ คือ ในหลายๆสถานการณ์แย่ๆนั้น บ. ก็ยังทำกำไรได้อยู่ แสดงว่า บ. ก็มีความแข็งแกร่งใช้ได้

หุ้นตัวนี้มองดูแล้วก็เป็นหุ้นสินค้าจำเป็น รัฐยังไงก็ต้องทำถนน มีการใช้แล้วหมดไป ต้องมีการซื้อซ้ำเพราะถนนก็มีอายุของมัน ต้องซ่อมแซม ยิ่งนานไปมีถนนเยอะ ก็ยิ่งมีซ่อมแซมเยอะด้วย ตราบใดที่ยังมีการใช้ถนน ยางมะตอยก็เป็นปัจจัยหลักในการซ่อมสร้างอยู่ดี  แต่ถ้าถึงยุคหนึ่งที่รถไม่มีล้อแล้ว ก็อาจจะเปลี่ยนไม่ต้องใช้ถนนก็ได้ แต่คงไม่เร็ว ในช่วง 10-20 ปีนี้ก็น่าจะยังจำเป็นต้องใช้แน่ๆ

ตรงนี้จะต่างจากพวกธุรกิจรถยนต์ ที่ยิ่งมีเทคโนโลยีใหม่ๆ พัฒนารถให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น โอกาสจะขายรถใหม่ได้ก็ยิ่งน้อยลง การเติบโตก็มีโอกาสน้อยลงไปด้วย เพราะอย่างไรดีมานด์มันก็มีจำกัด ยกตัวอย่างเช่นตอนมีโครงการรถคันแรก หลังจากนั้นก็ดีมานด์หายไปหลายปีเลย  สมมติรถดีๆอายุ 10 ปียังใช้งานได้ดีอยู่  คนที่จะซื้อรถใหม่ก็น้อยลงเรื่อยๆ

เทียบกับสินค้าบางอย่างที่อายุสั้นกว่า ต้องซื้อใหม่เรื่อยๆ เช่น โทรศัพท์มือถือที่ 2-3 ปีก็ต้องซื้อใหม่ ทำให้ธุรกิจพวกนี้โตได้เรื่อยๆ ตัวยางมะตอย  ทำถนนก็เช่นกัน 5-7 ปีก็ต้องรื้อทำใหม่ มันก็เลยมีโอกาสให้ บ. ขายยางมะตอยได้เรื่อยๆ

ทั้งนี้ก็ยังมีโอกาสในประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆด้วย กลุ่มอาเซียนเราก็กำลังพัฒนา ทำถนนเพิ่มเติม อันนี้ก็เป็นโอกาสให้บริษัทเติบโตได้อีก

✍️ Owner ?
ในแง่ของผู้ถือหุ้นใหญ่ มี 2 กลุ่มคือ  บ. CORAS จากฝรั่งเศส และกลุ่มทิปโก้ กลุ่มละประมาณ 30 % ก็ถือเป็นสัดส่วนที่ดี ควบคุมเสียงส่วนใหญ่ได้ ไล่ดูรายงานย้อนหลัง ก็เป็น 2 กลุ่มนี้ถือในสัดส่วนประมาณนี้มาตลอด เข้าใจเองว่าเขาก็น่าจะยังมีมุมมองที่ดีต่อธุรกิจอยู่

เท่าที่ดูความตั้งใจของเจ้าของ ก็กะจะอยู่ในตลาดยาวๆ ไม่ได้ทำธุรกิจฉาบฉวย ตัวนี้เขาก็เข้าตลาดมาหลายปีละ 30+ อายุบริษัทก็หลัก 40+

✍️ Professional ?
บอร์ดเป็นส่วนผสมของ 2 กลุ่ม ซึ่งก็ดีในแง่ไม่ได้ถูกครอบงำจนเกินไป ต่างคนต่างก็น่าจะส่งผู้เชี่ยวชาญของตัวเองมา  จะให้ไก่กามานั่งเล่นกินตำแหน่งอีกฝ่ายก็คงไม่ชอบใจนัก ผู้บริหารใหญ่เองก็ไม่ใช่คนในครอบครัว ผถห ใหญ่ ตีความได้ว่าเขาเอามืออาชีพมาบริหาร ตัว CEO เองก็มา Oppday ตลอด ให้ข้อมูลได้ดี ตอบโชะๆ

💰 Financial งบ Q10223@21May
1. ผู้ตรวจสอบรับรองงบ - ไม่มีเงื่อนไข
2. งบล่าสุด กำไร  1,128 ลบ. เยอะว่าปีก่อน
3. มีกำไรสะสม  15,303 ลบ. เพิ่มขึ้น
4. หนี้สินรวม  9,764 ลดลง
    ต้นทุนทางการเงิน 30 ลบ.  ถือว่าต่ำมาก เทียบกำไร
5. เงินสด  3,183 ลบ. สภาพคล่องไม่น่าห่วง
6. Book value 10.92 เติบโต
7. P/BV  1.66 เท่า
8. D/E  0.55 เท่า
9. กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน 379 ลบ.

✍️ Information ?
บ. เข้าร่วม Oppday ทุกครั้งเลย แม้ว่าข่าวบริษัทอาจจะน้อย แต่มีการแถลงจาก บ. เองโดยตรงทุกไตรมาสเป็นอะไรที่ดีมาก โดยเฉพาะ ผบห ใหญ่เป็นคนแถลงเอง ส่วนตัวลุงชอบชี้แจ้งจากบ. มากกว่าบทวิเคราะห์ของบ.หลักทรัพย์ เพราะอย่างหลังนี้ผลประโยชน์ทับซ้อนซะเยอะ ติหน่อยว่าคำชี้แจงผลประกอบการออกจะสั้นหน่อย แค่ 2 หน้า อ่านไม่ค่อยมันส์ ก็อาจด้วยตัวธุรกิจมันค่อนข้าง simple เลยอาจจะไม่ค่อยมีอะไรให้วิเคราะห์มากนัก (ไหม)

✍️ Return ?
นโยบายปันที่มากกว่า 60% งบรวม ผลตอบแทนปันผลปีที่ผ่านๆมาเฉลี่ยก็ได้ค่อนข้างดี 5 ปีย้อนหลังก็เฉลี่ยได้ 5%+  จัดว่าดี แต่อาจต้องถือยาวหน่อย เพราะมีบางปีจ่ายน้อย ตามผลกำไร ทั้งนี้ผลประกอบการณ์ของ บ. จะแปรผกผันกับราคาน้ำมันค่อนข้างชัดเจน คือถ้าน้ำมันแพง ต้นทุนยางมะตอยก็จะแพง ทำให้กำไรน้อยลง  ราคาน้ำมันนี้มันก็จะมีรอบๆของมัน ถ้าถือในระยะเวลาที่ยาวพอมัน มันก็จะมีทั้งปีที่แย่และปีที่ดี

ทั้งนี้ส่วนของ Capital Gain ถ้าดูจากราคาหุ้นก็จะเห็นว่ามันผันผวนหน่อย แต่ถ้าดูจาก Book Value ที่มันจะส่งผลไปถึงราคาหุ้นในระยะยาวอีกทีก็จะเห็นว่ามันเติบโตขึ้นเรื่อยๆ จาก 6 บาทต้นๆ ในปี 58 มาเป็น 9.74 ในปี 64

✍️ Enjoy ? ตัวธุรกิจในระยะกลางเกิน 4-5 ปี มีโอกาสเติบโตตามโครงสร้างพื้นฐานคือถนน ที่ก็มีทั้งซ่อมทั้งสร้าง แต่ทั้งนี้ผลประกอบการ กำไรอาจจะไม่ค่อยนิ่งเพราะมีหลายปัจจัยทั้งงบรัฐ ราคาน้ำมัน แต่ยังไงก็ถือว่าเป็นของจำเป็นที่ต้องใช้งานอยู่ ไม่น่าขาดหายไปไหน ไม่น่าเจ็งในเร็ววันนี้

ส่วนตัวลุงว่าถือแล้วนอนหลับสนิท ถือยาวน่ะได้ แต่เนื่องจากมันเป็นรอบๆ ถ้าในช่วงที่ราคาน้ำมันสูงๆ ก็จะทำให้ผลงาน บ. แย่หน่อย ราคาก็จะตกลง ก็เป็นจังหวะให้เก็บหุ้น แล้วเมื่อราคาน้ำมันลง ซึ่งส่งผลให้กำไร บ. ดีขึ้น ราคาดีขึ้น ก็ค่อยขายไป ก็เป็นกลยุทธ์ที่ดีทีเดียว
#30
เกี่ยวกับ CCUS

มุมมองพื้นฐาน Banpu ตั้งแต่ปี 2020